ข้อมูล อบจ.
ความเป็นมา-ปัจจุบัน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีอยู่ในทุกจังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจ และหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ และเป็นองค์กรที่ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครอง และสามารถตรวจสอบการบริหารงานได้ด้วย
โดยราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เรียกว่า สุขาภิบาล มี 2 แบบ คือ
1. สุขาภิบาลกรุงเทพฯ จัดตั้งขึ้นโดย “พระราชกำหนด สุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116” (พ.ศ. 2440)
2. สุขาภิบาลตามหัวเมือง จัดตั้งขึ้นโดย “พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ.127” (พ.ศ. 2451) ทั้งนี้ได้ปรากฎตามสำเนาพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมาได้จัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกตามความใน “พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476” โดยให้สภาจังหวัดทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาแก่กรมการจังหวัด และยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกจากจังหวัดซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค
ครั้นได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481” ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2487) ที่จะต้องแยกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะ แต่สภาจังหวัดยังทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษาของกรมการจังหวัดเช่นเดิม ต่อมาจึงได้มีการประกาศใช้“พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495” กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารราชการในจังหวัดทำให้อำนาจของกรมการจังหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้นยังทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ทั้งนี้ “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” เกิดขึ้นตามความใน “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498” ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2523) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกจากจังหวัด ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค และในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดในปัจจุบันเป็นไปตาม “พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540” ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2546) มีกำหนดภารกิจ อำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น นอกจากนั้นยังปรับปรุงโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งให้การได้มาซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งจะสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนอกจากจะมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ยังมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองมาตรา 12 (15) มาตรา 17 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ตราสัญลักษณ์ประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
ตราสัญลักษณ์ประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการเป็นรูปวงกลมทับซ้อนกัน 2 วง
วงนอกมีคำว่า”องค์การบริหารส่วนจังหวัด” อยู่ในโค้งรอบในวงกลมด้านบน และคำว่า”สมุทรปราการ” อยู่โค้งรอบในวงกลมด้านล่าง
วงใน เป็นรูป “พระธุตังคเจดีย์” ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีพระบรมสารีริกธาตุในผอบ ทอง เงิน นาค บรรจุไว้
พระเจดีย์องค์ประธานล้อมกรอบด้วยพระเจดีย์บริวาร ชั้นละ 4 องค์ มีความหมายถึงสมาธิจิต เมื่อดำเนิน การตามอริยมรรค โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะเกิดวิญญาณ ในอริยสัจ 4 ที่สร้างเป็น 3 ชั้น เรียกว่า ปริวัฏ 3 และเกิดยถาภูตญาณทัศนะ คือญาณหยัง่รู้ สังขารทั้งปวงตามความเป็นจริงมีฐานจตุรัส 4 เหลี่ยม เปรียบด้วยมหาสิตปัฏฐาน 4 กว้าง 3 วา หมายถึง ไตรสิกขา สูง 13 วา และเป็นพระเจดีย์หมู่ 13 องค์ หมายถึงธุดงควัตร(ข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส) 13 ประการ เมื่อมองประสานตรงๆ จะเห็นพระเจดีย์ล้อมวงเป็นคู่ หมายถึงพระธรรม กับพระวินัย อันเป็นหลักชัยของพระพุทธศาสนา แต่ถ้านับเฉียงจะได้ พระเจดีย์ จำนวน 7 องค์ หมายถึง โพชฌงค์ 7 ประการ
พระธุตังคเจดีย์เป็นปูชนียสถาน อันเป็นสิริมงคลแก่พุทธบริษัท และได้นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมีคุณค่าสูงยิ่งในพุทธศาสนา เพราะถ้าบูชาด้วยดีย่อมเป็นเครื่องดึงดูดกล่อมเกลานิสัย ให้สูงขึ้นตามลำดับเหมือนหมอกเมฆ ถ้าอยู่ในแผ่นดินย่อมก่อให้เกิดความอบอ้าว เมื่อหมอกเมฆลอยตัวขึ้นไปในอากาศแล้วขยายตัวออก ตกลงมาเป็นฝนย่อมนำความชุ่มเย็นมาสู่ปวงชนให้มีความสุขกายสุขใจเป็นอย่างดี
♦♦♦ ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสมุทรปราการ (พ.ศ. 2566 - 2570) ♦♦♦
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์ด้านผังเมืองและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์ด้านระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน
3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยวแบบสมดุล
4. ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมืองการบริหารและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านผังเมืองและระบบโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 เป้าประสงค์ ดังนี้
1.1 การวางผังเมืองแบบกระชับเพื่อใช้ประโยชน์จากแต่ละส่วนของพื้นที่ อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสอดรับกับผังเมืองและการเติบโตของเมือง
1.3 การพัฒนาระบบและกลไกเพื่อรองรับการจัดการกับภัยพิบัติ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ ดังนี้
2.1 พัฒนาระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานและคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.2 พัฒนาระบบดูแลสุขภาพของประชาชน
2.3 พัฒนาระบบการศึกษาของประชาชน
2.4 พัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยของประชาชนและชุมชน
2.5 พัฒนาด้านการจัดกิจกรรมกีฬา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยวแบบสมดุล ประกอบด้วย 6 เป้าประสงค์ ดังนี้
3.1 ส่งเสริมให้มีความสมดุลของเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน
3.2 พัฒนาพื้นที่ให้เกิดความหลากหลายของกิจกรรมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
3.3 สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน
3.4 พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนแบบบูรณาการ
3.5 สนับสนุนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ให้เกิดความยั่งยืน
3.6 ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการตลาดและการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้สู่จังหวัดสมุทรปราการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ ดังนี้
4.1 สร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
4.2 สร้างเสริมศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพเป็นระบบ
4.3 สร้างเสริมศักยภาพการจัดการปัญหาอุทกภัยและคุณภาพน้ำแบบบูรณาการ
4.4 สร้างเสริมศักยภาพการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง
4.5 แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นและมีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการเมืองการบริหารและการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ ดังนี้
5.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและ การบริการสาธารณะให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น
5.2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
5.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีให้แก่จังหวัดสมุทรปราการ
5.4 พัฒนาระบบตรวจสอบการติดตามประเมินผลขององค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ
วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
“เมืองอัจฉริยะทันสมัยได้มาตรฐาน ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ บริการสาธารณะครบครัน ก้าวทันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล"
พันธกิจองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
1. พัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่เมืองและโครงสร้างพื้นฐานที่สอดรับต่อความต้องการของประชาชน
2. ส่งเสริมและผลักดันภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรให้เติบโตร่วมกันอย่างสมดุล เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมนำไปสู่การรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของระดับภูมิภาคสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3. เสริมสร้างสังคมให้น่าอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้เกิดความมั่นคง ทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา ศาสนา ศิปวัฒนธรรม การกีฬา และสังคม
ตลอดจนความมั่นคงปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม โดยยึดฐานของอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของเมืองสมุทรปราการ
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน เพื่อให้มีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาเมือง
6. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาแผนการค้าการลงทุน รวมถึงแผนการพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
7. ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวด้วยภาษาต่าง ๆ ในชาติอาเซียน ส่งเสริมให้ชาวบ้าน
รู้จักพูดภาษาในชาติอาเซียน ครูสอนนักเรียนให้ทราบถึงภาษาและวัฒนธรรมของชาติอาเซียน
8. เสริมสร้างและยึดมั่นแนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและชุมชน
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา/เป้าประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนการจัดทำผังเมืองของจังหวัดสมุทรปราการให้มีความกระชับเพื่อใช้ประโยชน์จากแต่ละส่วนของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสอดรับกับผังเมืองและการเติบโตของเมือง
3. เพื่อพัฒนาระบบและกลไกเพื่อรองรับการจัดการกับภัยพิบัติให้เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์
4. เพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานและคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. เพื่อพัฒนาระบบดูแลสุขภาพของประชาชนให้มีคุณภาพและได้รับบริการอย่างทั่วถึง
6. เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาของประชาชนให้ได้มาตรฐาน
7. เพื่อพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยของประชาชนและชุมชน
8. เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยวให้เติบโตแบบสมดุลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
9. เพื่อพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
10. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอย ของเสีย และมลภาวะด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
11. เพื่อพัฒนาการเมืองการบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการให้มีประสิทธิภาพภายใต้หลักธรรมาภิบาล
12. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการอย่างสร้างสรรค์
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์ด้านผังเมืองและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์ด้านระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน
3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยวแบบสมดุล
4. ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมืองการบริหารและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านผังเมืองและระบบโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 เป้าประสงค์ ดังนี้
1.1 การวางผังเมืองแบบกระชับเพื่อใช้ประโยชน์จากแต่ละส่วนของพื้นที่ อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสอดรับกับผังเมืองและการเติบโตของเมือง
1.3 การพัฒนาระบบและกลไกเพื่อรองรับการจัดการกับภัยพิบัติ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ ดังนี้
2.1 พัฒนาระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานและคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.2 พัฒนาระบบดูแลสุขภาพของประชาชน
2.3 พัฒนาระบบการศึกษาของประชาชน
2.4 พัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยของประชาชนและชุมชน
2.5 พัฒนาด้านการจัดกิจกรรมกีฬา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยวแบบสมดุล ประกอบด้วย 6 เป้าประสงค์ ดังนี้
3.1 ส่งเสริมให้มีความสมดุลของเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน
3.2 พัฒนาพื้นที่ให้เกิดความหลากหลายของกิจกรรมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
3.3 สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน
3.4 พัฒนาส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนแบบบูรณาการ
3.5 สนับสนุนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ให้เกิดความยั่งยืน
3.6 ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการตลาดและการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้สู่จังหวัดสมุทรปราการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ ดังนี้
4.1 สร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
4.2 สร้างเสริมศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพเป็นระบบ
4.3 สร้างเสริมศักยภาพการจัดการปัญหาอุทกภัยและคุณภาพน้ำแบบบูรณาการ
4.4 สร้างเสริมศักยภาพการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง
4.5 แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นและมีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการเมืองการบริหารและการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ ดังนี้
5.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและ การบริการสาธารณะให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น
5.2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
5.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีให้แก่จังหวัดสมุทรปราการ
5.4 พัฒนาระบบตรวจสอบการติดตามประเมินผลขององค์การบริหารจังหวัดสมุทรปราการ