ประชาสัมพันธ์ 17 เป้าหมาย SDGs (เป้าหมาย 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี)
#SDGSummit: แม้จะมองไม่เห็น แต่สุขภาพจิตก็สําคัญ ไม่น้อยไปกว่าสุขภาพกาย มีข้อมูลว่า คนในเมืองกว่า 80.6% ในปัจจุบันประสบปัญหาสุขภาพจิต โดยปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้ยังเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับโรคทางกาย ในบางกรณี โรคซึมเศร้า อาจนําไปสู่อาการหัวใจวายและโรคเบาหวาน และในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยโรคหัวใจและเบาหวานก็มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้าด้วยเช่นกัน
“สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี” คือ 1 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของ UN #SDG3 โดยคุณเอง ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการดูแล-ส่งเสริมสุขภาพจิตของตัวเองและคนรอบตัวให้แข็งแรง รวมถึงขับเคลื่อน SDGs ได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีเหล่านี้#ActNow พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตอย่างเปิดเผย และรับฟังผู้อื่นอย่างเข้าใจและใส่
ใจชวนกันไปออกกําลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอเข้ารับคําปรึกษา/แนะนําให้คนรอบข้างเข้ารับคําปรึกษาจากจิตแพทย์ และหยุดตีตราว่าการพบจิตแพทย์เป็นเรื่องผิดปกติหรือน่าอาย
SDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเริ่มขึ้นในปี 2015 และจะจบลงในปี 2030 โดยแม้ในปีนี้พวกเราเดินทางมาถึงครึ่งทางแล้ว แต่รายงานล่าสุดจากเลขาธิการสหประชาชาติชี้ให้เห็นว่ามีเป้าหมายเพียง 12% ที่จะบรรลุได้ทันปี 2030 ในเดือนกันยายนนี้ ประเทศสมาชิก UN ทั้ง 193 ประเทศจึงจะมารวมตัวกันที่การประชุม #SDGSummit ณ สํานักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก และร่วมกําหนดทิศ
ทางการทํางานในช่วงเวลา 7 ปีสุดท้าย เพื่อให้โลกของเราบรรลุ SDGs ได้ทันเวลา
แล้วมาร่วมติดตามผลของการประชุม SDG Summit ไปกับเรา!